วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 3 AV

AV

AV (Audio Visual)

2. AV
2.1 ความหมายของ AV
AV Audio visual หรือ สื่อโสตทัศน์  คือการศึกษาที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหูและตา
Audio-visual education เป็นคำสมาสของคำว่า โสต+ทัศน+ศึกษา
โสต (Audio) ตามปทานุกรมหมายถึงหู หรือช่องหู ในทางการศึกษาเราหมายถึง ประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับโดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู หรือประสบการณ์ที่ได้รับจากการฟัง
ทัศน (Visual) ตามปทานุกรม หมายถึง การเห็นหรือสิ่งที่มองเห็น ในทางการศึกษาหมายถึงประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับโดยผ่านประสาทสัมผัสทางตา หรือประสบการณ์ที่ได้รับจากการมองเห็น
ศึกษา (Education) ตามปทานุกรมหมายถึงการเล่าเรียน ในทางการศึกษาหมายถึง ความเจริญงอกงามหรือการเรียนรู้ที่สังคมยอมรับ โสตทัศนศึกษา คือ การศึกษาที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหูและตา
2.2 ประเภทของ AV
1.  สื่อประเภทเครื่องเสียง เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง และแผ่นซีดี เป็นต้น
        
2. สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย  เช่น เครื่องฉายภาพทึบแสง แผ่นโปร่งใส สไลด์            ไมโคฟิล์ม โทรทัศน์วงจรเปิด และโทรทัศน์วงจรปิด
3. สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ของจริงของตัวอย่าง ของจำลองหุ่นจำลอง วัสดุกราฟิก กระดานดำกระดานขาว และการศึกษานอกสถานที่ เป็นต้น

2.3 การนำ AV ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
1. การถ่ายภาพ การทำสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน
2. การบันทึกภาพ หรือเสียงเพื่อใช้ในการเรียนการสอน
3. การออกแบบบทเรียนโดยใช้สื่อโสตทัศน์
4. การผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการช่วยสอน
5. การใช้อุปกรณ์สื่อโสตฯเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สะดวก รวดเร็ว
6. การสอนโดยใช้สื่อโสตฯเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงกัน

คุณค่าและบทบาทของโสตทัศนวัสดุต่อการเรียนรู้
1. โสตทัศนวัสดุการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
2. ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
3. ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
4. สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
5. ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
6. ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่างๆมากขึ้น
7. เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
8. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม


 กระบวนการนำ AV ไปใช้ในห้องเรียน
1. ใช้เครื่องเล่น MP3 บันทึกเสียงการสอนของผู้สอน
เครื่องเล่น MP3 กับนักศึกษามหาวิทยาลัย เป็นของที่คู่กันมานานหลายปีแล้ว แม้ว่านักศึกษาไทยจะใช้งานเครื่องเล่น MP3 ช้ากว่าในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ที่เขานิยมใช้เครื่อง iPod คือทางสถาบันศึกษาเตรียมไฟล์ MP3 และไฟล์วิดีโอ เอาไว้ให้นักศึกษาดาวน์โหลดไปลงเครื่อง MP3 (สมัยนี้คงต้องอัพเกรดตัวเองมาเป็นเครื่อง MP4 แล้ว เพราะสามารถฟังเสียงจากไฟล์ MP3 และดูไฟล์วิดีโอได้ด้วย) ทำให้การเรียนรู้สามารถทำได้ในสถานที่และเวลาซึ่งเมื่อก่อนใช้เรียนรู้ไม่ได้ เช่น ขณะเดินทางไปกลับโรงเรียน-บ้าน ซึ่งนับวัน เราจะเสียเวลาไปกับการเดินทางมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะรถติด
ในการบันทึกเสียงนั้น โดยเฉพาะในกรณีอย่างนี้ เราจำเป็นต้องมีการแจ้งให้คุณครูทราบด้วยว่าจะมีการบันทึกเสียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง
ในความเห็นของครู อยากจะเตรียมการสอนให้พร้อมก่อนจะมีการบันทึก เพื่อให้ได้บันทึกการสอนที่ดี ครบถ้วน และสามารถนำไปใช้กับห้องอื่นๆ ได้ ไม่จำเป็นต้องบันทึกในห้องอื่นๆ ให้ซ้ำซ้อนอีก
2. การใช้วิทยุเพื่อการเรียนการสอน
            การใช้วิทยุในห้องเรียนนั้นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพเสียงที่ดีควรมีการต่อเข้ากับลำโพงก็ได้และสามารถเรียนรู้ได้โดยการเปิดซีดี หรือเปิดจากวิทยุเพื่อให้ผู้เรียนได้ฟัง หรือเปิดคลื่นวิทยุที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น วิทยุศึกษา รายการวิทยุความรู้สู่ชุมชน  โดยจะออกอากาศ  AM.1161 KHz. , FM.92 MHz. และทรูวิชั่น R31 ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 10.10-11.00 น. ดังนี้
รูปแบบรายการ
สัปดาห์ที่ 1-3
10.10
ช่วงเปิดโลกวิทยาศาสตร์
คุณพรรณรินทร์ คุ้มรอด
10.20
ช่วงสนทนาภาษาวิทย์
คุณจุมพล เหมะคีรินทร์
10.36
พลังคิด
10.39
News Report
คุณกุลธิดา สายพรหม
10.40
สัมภาษณ์พิเศษ
วิทยากรรับเชิญในแต่ละสัปดาห์
สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
10.10
ช่วงเปิดโลกวิทยาศาสตร์
คุณพรรณรินทร์ คุ้มรอด
10.20
ช่วงสนทนาภาษาวิทย์
คุณจุมพล เหมะคีรินทร์
10.36
พลังคิด
10.39
News Report
คุณกุลธิดา สายพรหม
10.40
เปิดสายหน้าไมค์
            โดยสามารถเข้าดูตารางการออกอากาศได้ที่ http://www.moeradiothai.net/

          3. การใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน
            สื่อสิ่งพิมพ์ทุกประเภทจัดเป็นสื่อโสตทัศน์ เป็นสื่อการเรียนรู้ที่สะดวก สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้ และที่สำคัญในปัจจุบันตำราเรียน หรือหนังสือที่เสริมความรู้ต่างๆก็มีราคาถูก และสามารถยืมจากห้องสมุดได้ ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
            ผู้เรียนสามารถไปยืมหนังสือได้ที่ห้องสมุดของโรงเรียน หรือของมหาวิทยาลัยที่ตนศึกษาอยู่เพื่อนำมาประกอบในการเรียนการสอน

          4. การใช้ของจำลองเพื่อการเรียนการสอน
            การเรียนการสอนในปัจจุบันนอกจากจะอ่านตำราแล้วควรมีอุปกรณ์ที่ช่วยเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น ลูกโลก แผนที่ หุ่นจำลอง เป็นต้น
            เช่น กลุ่มสาระสังคมศึกษา หมวกประวัติศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องแผนที่ของประเทศไทย ก็สามารถนำลูกโลกกับแผนที่มาประกอบในการเรียนการสอนได้ ดังนี้
          5. การเรียนรู้ โดยการออกนอกสถานที่
          ปัจจุบันตามโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมทัศนศึกษาขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้ออกไปนอกโรงเรียน ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆจากสถานที่จริง เช่น การไปตามศูนย์วิทยาศาสตร์ต่างๆ เป็นต้น

            6. การใช้เครื่องฉายภาพทึบแสง
          การใช้เครื่องฉายภาพทึบแสงในปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างมากเหมาะกับการใช้ในห้องเรียนที่มีผู้เรียนเป็นจำนวนมาก โดยจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการใช้งาน ดังนี้
                        1. เครื่องรับโทรทัศน์วงจรปิด
                        2. ขากล้องพลาสติก
                        3. อแดปเตอร์
                        4. เลนส์ C-Mount 8
                        5. ขาไมค์
                        6.สายไฟ
                        7. สายรัด
                        8. กระดาษกาว 2 หน้า
           และหลังจากที่ได้งานที่จะนำเสนอเรียบร้อยแล้วมีขั้นตอนการใช้ ดังนี้
                        1. นำสายสัญญาณสีเหลืองต่อเข้ากับโทรทัศน์ หรือโปรเจ็คเตอร์
                        2. วางกระดาษ หรือชิ้นงานที่จะนำเสนอ
                        3. ประยุกต์ใช้ได้ตามต้องการ
            การใช้เครื่องฉายภาพทึบแสงจำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนที่มีความมืด หรือแสงสว่างๆน้อยๆเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด หรือชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่ก็สามารถซูมเข้า ซูมออกได้ตามความต้องการของเราแต่อาจจะมีข้อเสียที่จำเป็นต้องใช้งบประมาณสูง
                 
สรุป
            AV หรือ Audio Visual สื่อโสตทัศน์ เป็นสื่อที่สามารถรับรู้ได้โดยผ่านประสาทสัมผัสการได้ยินและการมองเห็น หรือหูกับตานั่นเอง สื่อโสตทัศน์แบ่งได้ 3 ประเภทด้วยกันคือ สื่อประเภทเครื่องเสียงสื่อประเภทเครื่องฉาย และสื่อประเภทที่ไม่ใช้เครื่องฉาย ซึ่งสามารถนำสื่อโสตทัศน์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. การถ่ายภาพ การทำสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น ตำราเรียน รายงานวิชาต่างๆ เพื่อนำมาประกอบในการเรียนการสอน
2. การบันทึกภาพ หรือเสียงในการสอนของครูผู้สอนเพื่อนำไปใช้ในครั้งต่อไป เพราะสามารถเปิดดูได้ซ้ำไปซ้ำมา ย้อนกลับ เดินหน้า กี่รอบก็ได้ตามความต้องการของเรา
3. การออกแบบบทเรียนโดยใช้สื่อโสตทัศน์ เช่น การถ่ายภาพวิวัฒนาการการเจริญเติบโตของต้นไม้ด้วยกล้องดิจิตอล และนำมาเปิดให้ผู้เรียนดูโดยใช้เครื่องฉายภาพก็ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
4. การใช้อุปกรณ์สื่อโสตฯต่างๆ เช่น โทรทัศน์ แผนที่ ลูกโลกมาประกอบในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สะดวก รวดเร็วและเข้าใจเรียนรู้ได้ดีขึ้น


อ้างอิง

ดร.นิพนธ์ ศุขปรีดี.  2528.   หนังสือโสตทัศนศึกษา  สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช..  พิมพ์ครั้งที่4.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์.

จุฑาทิพย์ เจนธนานันท์. โทรทัศน์เพื่อการศึกษา.  (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก:  http://www.learners.in.th/blogs/posts/124957. (วันที่ค้นข้อมูล11 ก.ค. 2555).

คณพศ วิลามาศ.  เครื่องฉายทึบแสง.  (ออนไลน์).  เข้าถึงได้จาก:  http://www.bmschool.ac.th/techno_slide.pdf.  (วันที่ค้นข้อมูล 20 ก.ค. 2555).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น