วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 2 TV


การประยุกต์ใช้มโนทัศน์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา



โทรทัศน์



TV (Television)
ความหมายและประเภทของ TV
TV หรือ Television โทรทัศน์ เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่สามารถส่งได้ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งแบ่งโทรทัศน์ออกได้ 3 ประเภทด้วยกัน คือ
1.      รายการโทรทัศน์เพื่อการค้า
2.      รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
3.      รายการโทรทัศน์การสอน
การใช้โทรทัศน์ในด้านการเรียนการสอน
เราสามารถใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษาและการสอนได้ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
ก. ใช้เป็นเครื่องมือในการสอน
ข. ใช้เป็นสื่อสอนแทนครู
ค. ใช้เป็นสื่อเพื่อเสริมความรู้
ง. ใช้เป็นสื่อในการศึกษาระบบเปิด
จ. เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมในสังคม
สามาถนำ TV มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. การนำรายการโทรทัศน์มาเปิดในห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านสื่อโทรทัศน์ที่สะดวก ไม่มีขั้นตอนยุ่งยากในการใช้งาน ภาพ แสง สี เสียง ชัดเจนทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้ส่งผลให้ผลการเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. .ในกรณีที่ผู้เรียนไม่สามารถมาโรงเรียนได้ หรืออยู่ในพื้นที่ชนบทก็สามารถเรียนได้โดยช่องรายการ ETV และรายการสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV ) ได้เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
3. ในบางมหาวิทยาลัยก็ใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการเรียนรู้ เช่น รายการของมหาวิทยาลัยรามคำแหง และรายการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
กระบวนการในการนำโทรทัศน์ไปใช้ในการเรียนการสอน
1. การเปิดรายการโทรทัศน์ ETV ในห้องเรียนเพื่อการเรียนการสอน
สามารถทำได้โดยเปิดโทรทัศน์ไปที่ช่อง ETV โดยช่องอีทีวี ออกอากาศเป็นเวลา 18 ชั่วโมงของทุกวัน ช่วงระหว่าง 06.00 - 24.00 น. (เวลาออกอากาศเหมือนกันกับ สถานีวิทยุศึกษา) ผ่านสัญญาณดาวเทียมไทยคม 5 ในระบบดิจิตอล ความถี่ เคยู-แบนด์ คลื่นอีเอชเอฟ (EHF) โดยสามารถรับชมได้ทางสถานีโทรทัศน์เคเบิลทรูวิชั่นส์ ช่อง 180, สถานีโทรทัศน์เคเบิลตามท้องถิ่นต่างๆ และจากเว็บไซต์ของสถานีคือ  http://www.etvthai.tv/stream/home.aspx
ยกตัวอย่างเช่น
1. รายการทางช่อง ETC
2.การเรียนการสอนโดนเรียนรู้ผ่านรายการโทรทัศน์ครู
สามารถเรียนรู้ได้โดยรายการโทรทัศน์ครู ซึ่งจะมีตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มันธยมศึกษา และการศึกษาพิเศษ ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ด้วยกัน ขณะนี้สามารถรับชมรายการต่างๆของสถานีโทรทัศน์ครูได้โดย
1. ทาง http://www.thaiteachers.tv/ ได้ 24 ชั่วโมง ทุกวัน
2. รับชมได้ทั่วประเทศ โดยรับสัญญาณผ่านจานดาวเทียมในระบบ KU-Band ที่คลื่นความถี่ 12355 MHz ของดาวเทียมไทยคม 5 ช่อง 36
3. รายการครูมืออาชีพ ออกอากาศทางทีวีไทย จันทร์ ศุกร์ เวลา 05.45 - 06.00 น. และ 17.45 - 18.00 น.
4. ทางสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา สำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียนกระทรวงศึกษาธิการ (ETV Thai) ทาง truevisions 180 ผ่านรายการ ครูมืออาชีพช่วงเวลา 20.35-20.50 น.
ยกตัวอย่างเช่น
1. รายการโทรทัศน์ครู เรื่อง  Tablet คืออะไร


อ้างอิง
รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง.  2543.  หนังสือเทคโนโลยีการศึกษา และนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่2 ปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานาคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จินดาวรรณ ปัญจูจี.  โทรทัศน์การศึกษา. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=6&group_id=29&article_id=508. (วันที่ค้นข้อมูล11 ก.ค. 2555).

จุฑาทิพย์ เจนธนานันท์. โทรทัศน์เพื่อการศึกษา.  (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก:  http://www.learners.in.th/blogs/posts/124957. (วันที่ค้นข้อมูล11 ก.ค. 2555).


บทที่ 3 AV

AV

AV (Audio Visual)

2. AV
2.1 ความหมายของ AV
AV Audio visual หรือ สื่อโสตทัศน์  คือการศึกษาที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหูและตา
Audio-visual education เป็นคำสมาสของคำว่า โสต+ทัศน+ศึกษา
โสต (Audio) ตามปทานุกรมหมายถึงหู หรือช่องหู ในทางการศึกษาเราหมายถึง ประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับโดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู หรือประสบการณ์ที่ได้รับจากการฟัง
ทัศน (Visual) ตามปทานุกรม หมายถึง การเห็นหรือสิ่งที่มองเห็น ในทางการศึกษาหมายถึงประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับโดยผ่านประสาทสัมผัสทางตา หรือประสบการณ์ที่ได้รับจากการมองเห็น
ศึกษา (Education) ตามปทานุกรมหมายถึงการเล่าเรียน ในทางการศึกษาหมายถึง ความเจริญงอกงามหรือการเรียนรู้ที่สังคมยอมรับ โสตทัศนศึกษา คือ การศึกษาที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหูและตา
2.2 ประเภทของ AV
1.  สื่อประเภทเครื่องเสียง เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง และแผ่นซีดี เป็นต้น
        
2. สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย  เช่น เครื่องฉายภาพทึบแสง แผ่นโปร่งใส สไลด์            ไมโคฟิล์ม โทรทัศน์วงจรเปิด และโทรทัศน์วงจรปิด
3. สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ของจริงของตัวอย่าง ของจำลองหุ่นจำลอง วัสดุกราฟิก กระดานดำกระดานขาว และการศึกษานอกสถานที่ เป็นต้น

2.3 การนำ AV ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
1. การถ่ายภาพ การทำสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน
2. การบันทึกภาพ หรือเสียงเพื่อใช้ในการเรียนการสอน
3. การออกแบบบทเรียนโดยใช้สื่อโสตทัศน์
4. การผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการช่วยสอน
5. การใช้อุปกรณ์สื่อโสตฯเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สะดวก รวดเร็ว
6. การสอนโดยใช้สื่อโสตฯเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงกัน

คุณค่าและบทบาทของโสตทัศนวัสดุต่อการเรียนรู้
1. โสตทัศนวัสดุการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
2. ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
3. ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
4. สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
5. ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
6. ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่างๆมากขึ้น
7. เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
8. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม


 กระบวนการนำ AV ไปใช้ในห้องเรียน
1. ใช้เครื่องเล่น MP3 บันทึกเสียงการสอนของผู้สอน
เครื่องเล่น MP3 กับนักศึกษามหาวิทยาลัย เป็นของที่คู่กันมานานหลายปีแล้ว แม้ว่านักศึกษาไทยจะใช้งานเครื่องเล่น MP3 ช้ากว่าในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ที่เขานิยมใช้เครื่อง iPod คือทางสถาบันศึกษาเตรียมไฟล์ MP3 และไฟล์วิดีโอ เอาไว้ให้นักศึกษาดาวน์โหลดไปลงเครื่อง MP3 (สมัยนี้คงต้องอัพเกรดตัวเองมาเป็นเครื่อง MP4 แล้ว เพราะสามารถฟังเสียงจากไฟล์ MP3 และดูไฟล์วิดีโอได้ด้วย) ทำให้การเรียนรู้สามารถทำได้ในสถานที่และเวลาซึ่งเมื่อก่อนใช้เรียนรู้ไม่ได้ เช่น ขณะเดินทางไปกลับโรงเรียน-บ้าน ซึ่งนับวัน เราจะเสียเวลาไปกับการเดินทางมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะรถติด
ในการบันทึกเสียงนั้น โดยเฉพาะในกรณีอย่างนี้ เราจำเป็นต้องมีการแจ้งให้คุณครูทราบด้วยว่าจะมีการบันทึกเสียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง
ในความเห็นของครู อยากจะเตรียมการสอนให้พร้อมก่อนจะมีการบันทึก เพื่อให้ได้บันทึกการสอนที่ดี ครบถ้วน และสามารถนำไปใช้กับห้องอื่นๆ ได้ ไม่จำเป็นต้องบันทึกในห้องอื่นๆ ให้ซ้ำซ้อนอีก
2. การใช้วิทยุเพื่อการเรียนการสอน
            การใช้วิทยุในห้องเรียนนั้นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพเสียงที่ดีควรมีการต่อเข้ากับลำโพงก็ได้และสามารถเรียนรู้ได้โดยการเปิดซีดี หรือเปิดจากวิทยุเพื่อให้ผู้เรียนได้ฟัง หรือเปิดคลื่นวิทยุที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น วิทยุศึกษา รายการวิทยุความรู้สู่ชุมชน  โดยจะออกอากาศ  AM.1161 KHz. , FM.92 MHz. และทรูวิชั่น R31 ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 10.10-11.00 น. ดังนี้
รูปแบบรายการ
สัปดาห์ที่ 1-3
10.10
ช่วงเปิดโลกวิทยาศาสตร์
คุณพรรณรินทร์ คุ้มรอด
10.20
ช่วงสนทนาภาษาวิทย์
คุณจุมพล เหมะคีรินทร์
10.36
พลังคิด
10.39
News Report
คุณกุลธิดา สายพรหม
10.40
สัมภาษณ์พิเศษ
วิทยากรรับเชิญในแต่ละสัปดาห์
สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
10.10
ช่วงเปิดโลกวิทยาศาสตร์
คุณพรรณรินทร์ คุ้มรอด
10.20
ช่วงสนทนาภาษาวิทย์
คุณจุมพล เหมะคีรินทร์
10.36
พลังคิด
10.39
News Report
คุณกุลธิดา สายพรหม
10.40
เปิดสายหน้าไมค์
            โดยสามารถเข้าดูตารางการออกอากาศได้ที่ http://www.moeradiothai.net/

          3. การใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน
            สื่อสิ่งพิมพ์ทุกประเภทจัดเป็นสื่อโสตทัศน์ เป็นสื่อการเรียนรู้ที่สะดวก สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้ และที่สำคัญในปัจจุบันตำราเรียน หรือหนังสือที่เสริมความรู้ต่างๆก็มีราคาถูก และสามารถยืมจากห้องสมุดได้ ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
            ผู้เรียนสามารถไปยืมหนังสือได้ที่ห้องสมุดของโรงเรียน หรือของมหาวิทยาลัยที่ตนศึกษาอยู่เพื่อนำมาประกอบในการเรียนการสอน

          4. การใช้ของจำลองเพื่อการเรียนการสอน
            การเรียนการสอนในปัจจุบันนอกจากจะอ่านตำราแล้วควรมีอุปกรณ์ที่ช่วยเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น ลูกโลก แผนที่ หุ่นจำลอง เป็นต้น
            เช่น กลุ่มสาระสังคมศึกษา หมวกประวัติศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องแผนที่ของประเทศไทย ก็สามารถนำลูกโลกกับแผนที่มาประกอบในการเรียนการสอนได้ ดังนี้
          5. การเรียนรู้ โดยการออกนอกสถานที่
          ปัจจุบันตามโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมทัศนศึกษาขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้ออกไปนอกโรงเรียน ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆจากสถานที่จริง เช่น การไปตามศูนย์วิทยาศาสตร์ต่างๆ เป็นต้น

            6. การใช้เครื่องฉายภาพทึบแสง
          การใช้เครื่องฉายภาพทึบแสงในปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างมากเหมาะกับการใช้ในห้องเรียนที่มีผู้เรียนเป็นจำนวนมาก โดยจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการใช้งาน ดังนี้
                        1. เครื่องรับโทรทัศน์วงจรปิด
                        2. ขากล้องพลาสติก
                        3. อแดปเตอร์
                        4. เลนส์ C-Mount 8
                        5. ขาไมค์
                        6.สายไฟ
                        7. สายรัด
                        8. กระดาษกาว 2 หน้า
           และหลังจากที่ได้งานที่จะนำเสนอเรียบร้อยแล้วมีขั้นตอนการใช้ ดังนี้
                        1. นำสายสัญญาณสีเหลืองต่อเข้ากับโทรทัศน์ หรือโปรเจ็คเตอร์
                        2. วางกระดาษ หรือชิ้นงานที่จะนำเสนอ
                        3. ประยุกต์ใช้ได้ตามต้องการ
            การใช้เครื่องฉายภาพทึบแสงจำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนที่มีความมืด หรือแสงสว่างๆน้อยๆเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด หรือชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่ก็สามารถซูมเข้า ซูมออกได้ตามความต้องการของเราแต่อาจจะมีข้อเสียที่จำเป็นต้องใช้งบประมาณสูง
                 
สรุป
            AV หรือ Audio Visual สื่อโสตทัศน์ เป็นสื่อที่สามารถรับรู้ได้โดยผ่านประสาทสัมผัสการได้ยินและการมองเห็น หรือหูกับตานั่นเอง สื่อโสตทัศน์แบ่งได้ 3 ประเภทด้วยกันคือ สื่อประเภทเครื่องเสียงสื่อประเภทเครื่องฉาย และสื่อประเภทที่ไม่ใช้เครื่องฉาย ซึ่งสามารถนำสื่อโสตทัศน์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. การถ่ายภาพ การทำสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น ตำราเรียน รายงานวิชาต่างๆ เพื่อนำมาประกอบในการเรียนการสอน
2. การบันทึกภาพ หรือเสียงในการสอนของครูผู้สอนเพื่อนำไปใช้ในครั้งต่อไป เพราะสามารถเปิดดูได้ซ้ำไปซ้ำมา ย้อนกลับ เดินหน้า กี่รอบก็ได้ตามความต้องการของเรา
3. การออกแบบบทเรียนโดยใช้สื่อโสตทัศน์ เช่น การถ่ายภาพวิวัฒนาการการเจริญเติบโตของต้นไม้ด้วยกล้องดิจิตอล และนำมาเปิดให้ผู้เรียนดูโดยใช้เครื่องฉายภาพก็ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
4. การใช้อุปกรณ์สื่อโสตฯต่างๆ เช่น โทรทัศน์ แผนที่ ลูกโลกมาประกอบในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สะดวก รวดเร็วและเข้าใจเรียนรู้ได้ดีขึ้น


อ้างอิง

ดร.นิพนธ์ ศุขปรีดี.  2528.   หนังสือโสตทัศนศึกษา  สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช..  พิมพ์ครั้งที่4.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์.

จุฑาทิพย์ เจนธนานันท์. โทรทัศน์เพื่อการศึกษา.  (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก:  http://www.learners.in.th/blogs/posts/124957. (วันที่ค้นข้อมูล11 ก.ค. 2555).

คณพศ วิลามาศ.  เครื่องฉายทึบแสง.  (ออนไลน์).  เข้าถึงได้จาก:  http://www.bmschool.ac.th/techno_slide.pdf.  (วันที่ค้นข้อมูล 20 ก.ค. 2555).

บทที่ 4 ICT

ICT

3. ICT
3.1 ความหมายของ ICT
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and communication Technology : ICT)หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผลการรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บ และการนำไปใช้งานใหม่
3.2 ประเภทของ ICT
1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล  เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ กล้องดิจิตอล เป็นต้น
2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล  เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก  จานแสง และ memory card
3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ พล็อตเตอร์ ฯลฯ
5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสา เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสาร ข้อมูลได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น  โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง และโทรเลข

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศซึ่งเป็นระบบสนับสนุนการบริหารงาน การจัดการและปฏิบัติการของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับกลุ่มหรือระดับองค์กรไม่ใช่มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของระบบอีกรวมเป็น 5 องค์ประกอบ ซึ่งจะขาดองค์ประกอบใดไม่ได้ คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1. ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย
2. ซอฟต์แวร์ 
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของชุดคำสั่งที่สั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ
3. ข้อมูล
ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ เป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องและทันสมัย มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์
4. บุคลากร
บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น
5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน ในขณะใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน

3.3 การนำ ICT ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
การใช้ไอซีทีในการเรียนการสอน
การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about technology)
เป็นการเรียนรู้ในเรื่องของเทคโนโลยี เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้ว่าคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการประมวลผล ค้นคืนสารสนเทศได้อย่างไร เทคโนโลยีการสื่อสารมีรูปแบบใดบ้าง ฯลฯ
1. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by technology)
เป็นการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผล การใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในการสร้างบทเรียน การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้า การเรียนการสอนในลักษณะอีเลิร์นนิ่ง และการทัศนศึกษาเสมือนด้วยแหล่งการเรียนรู้เสมือนจากเว็บไซต์ต่างๆ เป็นต้น
2. การเรียนรู้ไปกับเทคโนโลยี (Learning with technology)
เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี ได้แก่ การเรียนรู้ขณะนี้เทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปในลักษณะและในรูปแบบใดบ้างทั้งด้านวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
ยกตัวอย่าง เช่น
1. E-Learning บทเรียนออนไลน์
หมายถึง รูปแบบของเนื้อหาสาระที่สร้างเป็นบทเรียนออนไลน์สำเร็จรูป ที่อาจใช้ซีดีรอมช เป็นสื่อกลางในการส่งผ่าน หรือใช้การส่งผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet) หรือเครือข่ายภายใน ทั้งนี้อาจจะอยู่ในรูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยการฝึกอบรม (Computer Based Training: CBT) และการใช้เว็บเพื่อการฝึกอบรม (Web Based Training: WBT) หรือการเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) ผ่านดาวเทียมก็ได้

2. CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
CAI ที่มีข้อได้เปรียบสื่ออื่น ๆ สามารถแสดงผลได้หลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบ และการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) บวกกับความสามารถในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ทำให้เป็นสื่อที่ตอบสนองการเรียนการสอน ในรูปแบบเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) ได้อย่างดียิ่งเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สามารถคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น

3. WEB เว็บไซต์
หมายถึง แหล่งความรู้หรือข้อมูลข่าวสารที่ถูกเก็บไว้บนระบบ เน็ตเวิร์ก (Network) ออนไลน์ (Online) ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต (Internet) การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา ปัจจุบันมีเว็บที่บริการเรียนออนไลน์มากมายหลากหลายวิชา มีทั้งแบบข้อความเพื่ออ่าน ภาพประกอบ เสียงบรรยาย หรือวีดีโอสอนก็มี เช่น การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ต่างๆเพื่อประกอบในการเรียนการสอน และสืบค้นเนื้อหามาใช้ในการทำรายงาน เป็นต้น

4. E-Book หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์        โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ โดยที่เราสามารถเรียนรู้ได้สะดวกขึ้นเพราะไม่ต้องพกหนังสือหลายๆเล่มเพียงแค่มีคอมพิวเตอร์แบบพกพาติดตัว อย่างtablet ก็สามารถพกหนังสือติดตัวได้ทีละหลายๆเล่ม


กระบวนการนำ ICT ไปใช้ในห้องเรียน
1. การใช้คอมพิวเตอร์
            การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน เหมาะสำหรับกลุ่มผู้เรียนทุกเพศทุกวัยที่มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ โดยในคอมพิวเตอร์มีโปรแกรมต่างๆมากมายที่เหมาะสำหรับนำมาใช้ในการเรียนการสอน เช่น
โปรแกรม Microsoft Office

            แต่ที่นิยมใช้กันส่วนมากจะมีอยู่ 3 โปรแกรมคือ
1. ไมโครซอฟท์ เวิร์ด
ไมโครซอฟท์ เวิร์ด เป็นโปรแกรมที่นิยมในการประมวลผลคำ มีความสามารถในการจัดรูปแบบตัวอักษร ย่อหน้า ใส่รูปภาพ จดหมายเวียน และอื่นๆ อีกมากมาย
ตัวอย่าง
          การทำรายงานโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟเวิร์ด เป็นที่นิยมกันอยู่ทั่วไปเพราะสามารถแทรกภาพ แทรกตาราง แผนภูมิ และเพิ่มลูกเล่นต่างๆได้มากมาย ทำให้งานมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและน่าสนใจมากยิ่งขึ้นด้วย


2. ไมโครซอฟท์ เอ็กเซล
ไมโครซอฟท์ เอ็กเซล เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดทำตารางงาน มีความสามารถในการคำนวณสูตรต่างๆ พร้อมทั้งฟังก์ชันที่ช่วยในการคำนวณทางคณิตศาสตร์อีกด้วย
ตัวอย่าง
            3. ไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์
ไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ เป็นโปรแกรมนำเสนอผลงาน สามารถนำเสนอผลงานในแบบต่างๆ รวมถึงมีแม่แบบที่ช่วยผู้ใช้ใช้งานอย่างงายดาย และมีแอฟเฟ็คแบบต่างๆ ช่วยตกแต่งให้งานนำเสนอมีความสวยงาม
ตัวอย่าง
โปรมแกรมไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนองาน มีลูกเล่นต่างๆมากมาย สามารถใส่ตัวอักษร แทรกภาพ แทรกเสียง แทรกคลิปวีดีโอ และแทรกลิงค์ไปยังUSERของเว็บต่างๆได้ด้วย

2. การใช้อินเตอร์เน็ต
            การใช้อินเตอร์เน็ตในการเรียนการสอนนั้น สามารถใช้ได้กับกลุ่มผู้เรียนทุกเพศทุกวัยเช่นกัน แต่จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ และผู้เรียนต้องมีความสามารถและมีความรู้เบื้องต้นในการใช้คอมพิวเตอร์ด้วย เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่กว้างขวาง สามารถเข้าได้ถึงจากทั่วทุกมุมโลก เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้บริการสื่อสารข้อมูล เช่น การบันทึกเข้าระยะไกลการถ่ายโอนแฟ้ม อี-เมล์ เป็นต้น

ตัวอย่าง
การเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต
1. การสืบค้นข้อมูลการทำรายงาน หรือหาความรู้โดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2. การส่งจดหมายออนไลน์ หรือส่งเมล์ ส่งไฟล์งาน หรือการบ้านระหว่างผู้เรียนและผู้สอน  โดยจะต้องมีการสมัคสมาชิก Hotmail หรือ Gmail ก็ได้เพื่อใช้เป็นตัวกลางในการส่งงาน

3. E – Learning บทเรียนออนไลน์  เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ                     (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น
E – Learning บทเรียนออนไลน์ 
ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ ดังนี้
http://www.dekgeng.com/thai/reading.html
http://www.bkkelearning.com/bkk/category.jsp
http://e-learning.tu.ac.th/demoLMS/demoLMS.html
http://www.tsi-thailand.org/Financeforyouth_2/e-Learning-course/tsi_y01/e-Learning-1.html

โดยขั้นตอนการเข้าเรียนออนไลน์ ผู้เรียนสามารถเข้าได้ทุกที่ทุกเวลา จากที่ไหนก็ได้แต่จำเป็นต้องมีการสมัครเป็นสมาชิกในเว็บไซต์นั้นๆก่อนเข้าเรียน

CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการเรียนการสอนแบบรายบุคคล โดยผู้เรียนสามารถเข้าเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้โดยไม่จำกัดเวลา ไม่จำเป็นต้องรอครูผู้สอน และหากไม่เข้าใจก็สามารถเข้าดูบทเรียนซ้ำได้ บทเรียนใดเข้าใจแล้วก็สามารถผ่านไปยังบทต่อไปได้เลย
สำหรับผู้สอนที่สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสร็จอาจนำไปลงตามเว็บไซต์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ในขั้นตอนการสร้างควรสร้างให้เหมาะสมกับผู้เรียน โดยคำนึงถึงวัย และความรู้เดิมของผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง สิ่งแวดล้อมในชุมชน





E – BOOK หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
E – Book ก็เปรียบเสมือนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่สามารถเข้าใช้งานได้โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่สามารถอ่าน E –Book ได้อย่างเช่น Tablet เป็นต้น และที่สำคัญยังสามารถดาวน์โหลดมาเก็บไว้ที่คอมพิวเตอร์ของเราได้ด้วย เพื่อเปิดใช้งานแบบออฟไลน์ได้

ตัวอย่าง
เว็บไซต์ที่สามารถดาวน์โหลด E-Book มาใช้ในการเรียนการสอนได้ http://www.rta.mi.th/16120u/webpage/manualE-Books.html
สำหรับการใช้งาน E – Book นั้นสามารถทำได้ดังนี้
1. การเปิดโปรแกรมหนังสือ ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ DWB.exe รูปไอคอนสีน้ำเงิน หนังสือก็จะดีดขึ้นมาเอง
2. การเปิดหน้าถัดไป  นำเมาส์ไปวางบริเวณหน้าหนังสือด้านขวา แล้วทำการคลิกเมาส์(เมาส์ซ้าย) 1 ครั้ง จะเป็นการพลิกเปิด หนังสือไปหน้าถัดไป
3. การเปิดหน้าที่ผ่านมา  นำเมาส์ไปวางบริเวณหน้าหนังสือด้านซ้าย แล้วทำการคลิกเมาส์(เมาส์ซ้าย) 1 ครั้งจะเป็นการพลิกเปิดหนังสือไปหน้าที่ผ่านมา
4.การเปิดจากหน้าเนื้อหา (สารบัญ)  เปิด E-Book ไปหน้าเนื้อหา (สารบัญ) จากนั้นทำการคลิกเมาส์(เมาส์ซ้าย) 1 ครั้ง ณ ตำแหน่งหัวข้อเนื้อหา ที่ผู้ใช้ต้องการ e-Book จะทำการพลิกหน้า ไปยังเนื้อหานั้นๆโดยทันที
5.การเชื่อมโยงไปเว็บไซต์อื่น เมื่อเลื่อนเม้าส์ไปที่ข้อความลิงค์จะนูนขึ้นเป็นปุ่มขึ้นมาให้คลิกปุ่มที่มีการเชื่อมโยงได้เลย
6. การปิดหนังสือ คลิกปุ่มลิ้งค์ close ด้านล่างขวาของหน้าหนังสือทุกหน้าหรือ นำเม้าส์ไปวางที่บนหน้าหนังสือที่ว่าง ๆแล้วคลิกขวา ในกล่องข้อความเลือก exit  ก็จะออกจากโปรแกรมทันที


สรุป
ICT หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and communication Technology : ICT)หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสาร ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์บุคลากรข้อมูล และระบบปฏิบัติการ ในการนำICTไปใช้ในการเรียนการสอนสามารถแบ่งได้ แบบด้วยกันคือ เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี และเรียนรู้ไปกับเทคโนโลยี โดยสามารถนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. E-Learning บทเรียนออนไลน์ เรียนรู้โดยผ่านบทเรียนออนไลน์ที่สะดวก รวดเร็ว สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
2. CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การเรียนรู้โดยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการที่ทำให้ทำให้ได้สามารถคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น เพราะจะมีFeedbackกลับมาให้เราได้รู้ผลการเรียนของเราด้วย
3. WEB เว็บไซต์ เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เว็บไซต์เป็นหลัก ซึ่งมีมากมายหลากหลายวิชา มีทั้งแบบข้อความเพื่ออ่าน ภาพประกอบ เสียงบรรยาย หรือวีดีโอสอนทำให้เราเรียนรู้ได้เข้าใจง่ายมากขึ้น
4. E-Book หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  เราสามารถอ่านหนังสือได้โดยที่เราสามารถเรียนรู้ได้สะดวกขึ้นเพราะไม่ต้องพกหนังสือหลายๆเล่มเพียงแค่มีคอมพิวเตอร์แบบพกพาติดตัว อย่างtablet ก็สามารถพกหนังสือติดตัวได้ทีละหลายๆเล่ม

อ้างอิง

ชม ภูมิภาค. 2548.  หนังสือไอซีทีเพื่อการศึกษา.  พิมพ์ครั้งที่ 2. อรัณการพิมพ์:  กรุงเทพมหานคร.

Mickey-mook. ICT คืออะไร.  (ออนไลน์).  เข้าถึงได้จาก:  http://mickey-mook.exteen.com/20090731/ict-1.  (วันที่ค้นข้อมูล 12 ก.ค. 2555)

ณรงค์พร เหล่าศรีสิน .  EduTeach – ไอเดียสร้างสรรค์ในการใช้ไอทีกับกาศึกษา.  (ออนไลน์).  เข้าถึงได้จาก:  http://bodin.wordpress.com/.  (วันที่ค้นข้อมูล14 ก.ค. 2555).

นายประสาน   กัลยาณมิตร.  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน.  (ออนไลน์).  เข้าถึงได้จาก:  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/344845.  (วันที่ค้นข้อมูล14 ก.ค. 2555).

พ.ต.อดุลย์ ปานสกุล.  คู่มือการใช้งาน E – Book.  (ออนไลน์).  เข้าถึงได้จาก:  http://www.rta.mi.th/16120u/webpage/manualE-Books.html.  (วันที่ค้นข้อมูล 20 ก.ค. 2555).